แผนยุทธศาตร์การจัดการความรู้ 5 ปี

ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on)
184.0 KiB
1499 Downloads
Details

กรอบแนวคิด

          ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ (Hands-on)  ที่มีความรู้ ทักษะวิชาชีพ ทักษะสังคม (Soft skills) และประสบการณ์ในการทำงานจริง โดยการร่วมมือกับสถานประกอบการ บนพื้นฐานของการพัฒนาอาจารย์ หลักสูตร การบริหารหลักสูตรและห้องปฏิบัติการ

บัณฑิตนักปฏิบัติ หมายถึง  บัณฑิตที่มีสมรรถนะตามสาขาวิชาชีพ สามารถทำงานได้ ทำงานเป็น ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ 

          ความรู้ หมายถึง ศาสตร์ด้านต่างๆ ที่สอนอยู่ในสาขาวิชานั้นๆ โดยสอนหลักการที่สำคัญ (Principle) ของศาสตร์นั้นๆ และการประยุกต์ใช้งานในขั้นสูง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนที่ผ่านการอบรมแนวทางการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติในลักษณะบูรณาการองค์ความรู้มาแล้ว 

          ทักษะวิชาชีพ หมายถึง การฝึกปฏิบัติทักษะทางวิชาชีพที่เป็นพื้นฐานและสอดคล้องกับสมรรถนะสาขาวิชาชีพ ที่สถานประกอบการต้องการ 

          ทักษะทางสังคม (Soft skills) หมายถึง ทักษะที่เติมเต็มบัณฑิตนักปฏิบัติ นอกเหนือจากศาสตร์เฉพาะสาขาที่ศึกษาในชั้นเรียน โดยสามารถพัฒนาทักษะเหล่านี้นอกชั้นเรียนด้วยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ ใน มทร. ธัญบุรี  โดยเน้นทักษะทางสังคมที่สำคัญจำนวน 8 ด้าน ดังนี้

1.  ภาษาต่างประเทศ

2.  การสื่อสารและสารสนเทศ (Communication and IT)

3.  การทำงานเป็นทีม (Teamwork)

4.  ใฝ่เรียน ใฝ่รู้ (Learn how to learn)

5.  คิดวิเคราะห์ หรือกระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

6.  นิสัยอุตสาหกรรม

7.  ความมีระเบียบวินัยและรักองค์กร

8.  จิตสาธารณะ

ประสบการณ์ในการทำงานจริง หมายถึง การฝึกงาน สหกิจศึกษา การแก้โจทย์ในสถานประกอบการ การบริการวิชาการแก่สังคม ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีประสบการณ์จริงในการแก้ปัญหาโดยใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพตัวเองและทักษะสังคมเข้าช่วย และเน้นการเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรของสถานประกอบการนั้นๆ

เป้าหมาย

  1. รูปแบบ (Model)  การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) มทร. ธัญบุรี ที่สร้างอัตลักษณ์บัณฑิตของ มทร. ธัญบุรี
  2. รูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติเชิงลึก ของ 4 กลุ่มสาขาวิชา (การผลิต  การบริการ/สังคม การเกษตร และการสร้างสรรค์) ที่สอดคล้องกับธรรมชาติของแต่ละกลุ่มวิชา
  3. อาจารย์และบุคลากรการศึกษา เข้าใจในกระบวนการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ
  4. ห้องปฏิบัติการพื้นฐานและขั้นสูง มีความพร้อมและรองรับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ
  5. เครือข่ายจากสถานประกอบการ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ
  6. บัณฑิตนักปฏิบัติการ ที่มีความรู้ ทักษะวิชาชีพ ทักษะสังคม (Soft skills) และประสบการณ์ในการทำงาน
  7. ระบบฐานข้อมูล ที่รองรับกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการและการเผยแพร่
ชี่อตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ผู้รับผิดชอบ
2557 2558 2559 2560
1. รูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on) มทร. ธัญบุรี ที่สร้างอัตลักษณ์บัณฑิตของ มทร. ธัญบุรี 1 Model N/A N/A N/A HoC
2. รูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติเชิงลึก ของ 4 กลุ่มสาขาวิชา 2 Models 2 Models N/A N/A คณะต่างๆ และ HoC
3. อาจารย์และบุคลากรการศึกษา เข้าใจในกระบวนการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ 50 % 80 % 90 % 100 % คณะต่างๆ และ HoC
4. อาจารย์ผ่านการฝังตัวในสถานประกอบการ 20 % 40 % 60 % 80 % คณะต่างๆ และ HoC
5. ห้องปฏิบัติการพื้นฐานและขั้นสูง มีความพร้อมและรองรับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ 50 % 60 % 70 % 80 % คณะต่างๆ และ HoC
6. เครือข่ายจากสถานประกอบการ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการ 10 % 20 % 50 % 80 % คณะต่างๆ และ HoC
7. หลักสูตรใหม่ที่ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่สำเร็จของแต่ละคณะ N/A 3 หลักสูตร 5หลักสูตร 11 หลักสูตร คณะต่างๆ และ HoC
8. หลักสูตรเก่าถูกพัฒนา ให้สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ N/A 30 % 60 % 90 % คณะต่างๆ และ HoC
9. นักศึกษาที่ผ่านการทดสอบทางด้านภาษาอังกฤษ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 500 หรือเทียบเท่า 40 % 40 % 45 % 50 % คณะต่างๆ และคณะศิลปศาสตร์
10. นักศึกษาที่สอบผ่านมาตรฐานด้าน IT 60 % 60 % 65 % 70 % คณะต่างๆ และ สวส.
11. นักศึกษาที่ผ่านการทดสอบทักษะทางสังคมอีก 6 ด้าน (การทำงานเป็นทีม ใฝ่เรียนใฝ่รู้ คิดวิเคราะห์ นิสัยอุตสาหกรรม ความมีระเบียบวินัยและรักองค์กร และจิตสาธารณะ) N/A N/A 50 % 75 % คณะต่างๆ คณะบริหารฯ คณะครุฯ กพน. และ HoC
12. ความพึงพอใจต่อการใช้ของนักศึกษาต่อคุณภาพการจัดการ การเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ 80 % 80 % 85 % 85 % คณะต่างๆและ หน่วยงานสนับสนุน
13. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี ต่อคุณภาพของบัณฑิต ตามอัต-ลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 88 % 88 % 90 % 90 % คณะต่างๆและ หน่วยงานสนับสนุน
14. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี ต่อคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 85 % 88 % 90 % 90 % คณะต่างๆและ หน่วยงานสนับสนุน

 

โครงการ/กิจกรรมที่สำคัญ

ชื่อโครงการ/กิจกรรม หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบ
1. จัดตั้งศูนย์พัฒนาการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on Center: HoC) มทร. ธัญบุรี
2. พัฒนารูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของ มทร. ธัญบุรี HoC
3. เผยแพร่รูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของ มทร. ธัญบุรี ไปยังอาจารย์ในคณะต่างๆ HoC
4. วิจัยรูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติเชิงลึก ของแต่ละกลุ่มสาขาวิชาชีพ ทั้ง 4 กลุ่ม (การผลิต, การบริการ/สังคม, การเกษตร และการสร้างสรรค์) คณะต่างๆ และ HoC
5. พัฒนาหลักสูตรบัณฑิตนักปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการ หนึ่งคณะ หนึ่งหลักสูตร คณะต่างๆ และ HoC
6.  พัฒนาหลักสูตรเดิมของแต่ละสาขาวิชาให้สอดคล้องกับรูปแบบ (Model) เชิงลึก ของแต่ละสาขาวิชา คณะต่างๆ และ HoC
7. พัฒนาหลักเกณฑ์ คู่มือ และข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ HoC
8. พัฒนาอาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษา ให้เข้าใจบทบาทและวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ HoC
9. พัฒนาพี่เลี้ยงในสถานประกอบการให้เข้าใจแนวทางและความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ HoC
10. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านภาษาต่างประเทศ คณะศิลปศาสตร์
11. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านการสื่อสารและสารสนเทศ (Communication and IT) สวส.
12. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านการทำงานเป็นทีม (Teamwork) คณะบริหารธุรกิจ
13. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านการใฝ่เรียน ใฝ่รู้ (Learn how to learn) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
14. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านการคิดวิเคราะห์ (กระบวนการคิดและการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ) HoC
15. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านนิสัยอุตสาหกรรม HoC
16. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านความมีระเบียบวินัยและ     รักองค์กร ผู้สอน และ HoC
17. พัฒนาทักษะทางสังคม (Soft skills) ด้านจิตสาธารณะ ฝ่ายกิจการนักศึกษา
18. พัฒนาระบบประเมินสมรรถนะวิชาชีพ คณะต่างๆ และ HoC
19. พัฒนาระบบฐานข้อมูลเรื่องการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติและการเผยแพร่ HoC

 

มาตรการประกอบ

1. จัดตั้งศูนย์พัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on Center: HoC) เพื่อวางกลยุทธ์ ขับเคลื่อน ให้คำปรึกษา ประเมินผล และทบทวนกระบวนการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ โดยมีสถานะเทียบเท่ากอง โดยสิ่งที่ต้องการเพียงพื้นที่สำนักงานที่มีอยู่แล้วที่บริเวณชั้นที่ 6 ของอาคารสำนักงานอธิการบดีปัจจุบัน หรือชั้นที่ 2 ของอาคารสำนักงานอธิการบดีเดิม ครุภัณฑ์สำนักงานบางส่วน (โต๊ะ เก้าอี้ทำงาน คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ) และเจ้าหน้าที่ 1 ถึง 2 คน ส่วนบุคลากรดำเนินการจะขอยืมตัวมาช่วยงานจากคณะและกองต่างๆ ในบางช่วงเวลาเช่น 1 ถึง 2 วันต่ออาทิตย์ ซึ่งศูนย์พัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัตินี้ มีกลุ่มงานภายใน จำนวน 4 กลุ่มงาน คือ

1.1 กลุ่มงานพัฒนาบัณฑิตนักปฏิบัติ มีพันธกิจดังนี้

1.1.1 พัฒนารูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของ มทร. ธัญบุรี

1.1.2 ร่วมวิจัยรูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติเชิงลึก ของแต่ละกลุ่มสาขาวิชาชีพ ทั้ง 4 กลุ่ม (การผลิต, การบริการ/สังคม, การเกษตร และการสร้างสรรค์)

1.1.3 เผยแพร่รูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของ มทร. ธัญบุรี ไปยังอาจารย์ในคณะต่างๆ

1.1.4 พัฒนาหลักเกณฑ์ คู่มือ และข้อปฏิบัติ สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.1.5 ให้คำปรึกษาแนวทางในการปฏิบัติตามรูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติเชิงลึก ของแต่ละกลุ่มสาขาวิชาชีพ ทั้ง 4 กลุ่ม

1.1.6 ร่วมพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตนักปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการ หนึ่งคณะ หนึ่งหลักสูตร

1.1.7 พัฒนาอาจารย์และบุคลากรด้านการศึกษา ให้เข้าใจบทบาทและวิธีการปฏิบัติที่สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.1.8 พัฒนาพี่เลี้ยงในสถานประกอบการให้เข้าใจแนวทางและความร่วมมือในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.1.9 ร่วมให้คำปรึกษาในการพัฒนาห้องปฏิบัติการพื้นฐาน ขั้นสูง และกระบวนการสอนทักษะปฏิบัติ

1.1.10 ร่วมให้คำปรึกษาในการพัฒนาทักษะทางสังคมทั้ง 8 ด้านของบัณฑิตนักปฏิบัติ แก่หน่วยที่เกี่ยวข้อง

1.1.11 ร่วมพัฒนาระบบทดสอบสมรรถนะวิชาชีพ

1.1.12 ประเมินผลการดำเนินการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.1.13 ทบทวนและปรับปรุงกระบวนการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.1.14 วิจัยและนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

1.2 กลุ่มงานมาตรฐานอาชีพ มีพันธกิจดังนี้

1.2.1 พัฒนามาตรฐานอาชีพ

1.2.2 พัฒนาหน่วยงานรับรองคุณวุฒิอาชีพ

1.2.3 วิจัยและให้บริการวิชาการด้านมาตรฐานอาชีพ

1.2.4 เป็นที่ปรึกษาและให้บริการอบรมด้านการพัฒนามาตรฐานอาชีพ

1.3 กลุ่มงานพันธกิจสัมพันธ์ มีพันธกิจดังนี้

1.3.1 สร้างเกณฑ์มาตรฐานของสถานประกอบการ

1.3.2 สร้างเครือข่ายสถานประกอบการ

1.3.3 กำหนดเกณฑ์การเผยแพร่และบริการวิชาการด้านการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.3.4 สร้างเครือข่ายด้านการศึกษา

1.3.5 การให้บริการวิชาการด้านการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.4 กลุ่มงานการจัดการความรู้ (Knowledge Management)  มีพันธกิจดังนี้

1.4.1 พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับองค์ความรู้การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ

1.4.2 พัฒนาระบบแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติบนระบบ IT

1.4.3 พัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการที่เป็นเครือข่าย

1.4.4 พัฒนาระบบเผยแพร่การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ในรูปแบบต่างๆ

2. การพัฒนารูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ มทร. ธัญบุรี นั้นมีความจำเป็นต่อการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ เพราะต้องสร้างอัตลักษณ์ของนักศึกษาของ มทร. ธัญบุรี ก่อนว่าจะอยู่ในรูปแบบใด ขับเคลื่อนในลักษณะใด และมีองค์ประกอบใดที่จะนำไปสู่การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติของ มทร. ธัญบุรี ซึ่งการพัฒนารูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ มทร. ธัญบุรี นี้จะดำเนินการบนพื้นฐานของทฤษฎีการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ และการประยุกต์รูปแบบ (Model) มาตรฐานของการจัดการศึกษา

3. การวิจัยและพัฒนารูปแบบ (Model) การผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติเชิงลึก ของแต่ละกลุ่มสาขาวิชาชีพ ทั้ง 4 กลุ่ม คือ กลุ่มสาขาวิชาชีพการผลิต กลุ่มสาขาวิชาชีพการบริการ/สังคม กลุ่มสาขาวิชาชีพการเกษตร และกลุ่มสาขาวิชาชีพการสร้างสรรค์ นั้นมีความสำคัญเพราะในแต่ละกลุ่มสาขาวิชานั้นมีลักษณะที่แตกต่างกัน ฉะนั้นในกระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัตินั้นจะต้องมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งในการพัฒนารูปแบบเชิงลึกนี้จะต้องทำอย่างรอบครอบด้วยความร่วมของ 3 ฝ่ายคือ นักวิจัยการศึกษา อาจารย์ในกลุ่มสาขาวิชานั้นๆ และ HoC เพื่อที่จะได้รูปแบบในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติในแต่ละกลุ่มสาขาวิชาที่สอดคล้องกับธรรมชาติของกลุ่มสาขาวิชานั้นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

4. การส่งอาจารย์ไปฝังตัวกับสถานประกอบการจะต้องมีการพิจารณาเลือกสถานประกอบการที่เหมาะสมกับสาขาวิชาของอาจารย์ผู้นั้น มีการกำหนดกิจกรรมและผลลัพธ์ที่จะไปร่วมกับสถานประกอบการอย่างชัดเจนก่อนการฝังตัว รวมทั้งกระบวนการนิเทศการฝังตัวของอาจารย์ เพื่อป้องกันความล้มเหลวในการฝังตัวของอาจารย์

5. การพัฒนาหลักสูตรใหม่ในลักษณะ หนึ่งคณะหนึ่งหลักสูตร นั้นเป็นการจัดทำหลักสูตการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติเต็มรูปแบบลักษณะนำร่อง ซึ่งคณะอาจจะพัฒนาหลักสูตรผ่าน Cluster หรือนำหลักสูตรเดิมหลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใด หรือหลักสูตรใหม่ที่คณะจะพัฒนาอยู่แล้ว มาเป็นหลักสูตรนำร่องนี้ก็ได้ โดยทางสภามหาวิทยาลัยฯ จะต้องใช้เกณฑ์การพิจารณาการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (ตามที่ HoC ได้นำเสนอและเป็นที่ยอมรับแล้ว) ในการพิจารณาหลักสูตรใหม่ๆ ที่มีการนำเสนอเข้าสู่สภามหาวิทยาลัยฯ

 

 

ยุทธศาสตร์ด้านการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ (Hands-on)
184.0 KiB
1499 Downloads
Details